ปอเนาะต้นเเบบ

ปอเนาะต้นเเบบ

วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ปอเนาะคืออะไร:

บทนำ
โดย…ชมรมสถาบันศึกษาปอเนาะ
ในโอกาสเราจัดกิจกรรมในครั้งนี้  กระผมในนามของสมาคมสถาบันศึกษาปอเนาะจังหวัดชายแดนภาคใต้ ขอชูโกร(เคารพ)ต่อเอกองค์อัลลอฮเจ้าที่ให้บุญบันดาลความสุขความเจริญก้าวหน้าในโลกหน้าต่อไป และชี้ทางฮีดายะฮให้พวกเราทั้งหลาย
อะไรคือปอเนาะ
ปอเนาะ คือ ศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิตในด้านศาสนาและวัฒนธรรมอิสลามเพื่อเสริมสร้างให้ชุมชนมีความรู้และความประพฤติที่ดีงามในการดำรงชีพอย่างสันติสุขและมีความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ
ใครคือโต๊ะครู
โต๊ะครู คือ ผู้สอนที่มีองค์ความรู้ด้านศาสนาอิสลามเป็นอย่างดี และเป็นที่เคารพนับถือของชุมชน ที่เป็นเจ้าของปอเนาะ
ใครคือผู้ช่วยโต๊ะครู
ผู้ช่วยโต๊ะครู คือ ผู้ที่มีองค์ความรู้ด้านศาสนาอิสลามเป็นอย่างดี และสามารถช่วยสอนแทนโต๊ะครูได้ในสถาบันปอเนาะ
ทำไมมาเป็น “สถาบันศึกปอเนาะ”
ตั้งแต่ดั้งเดิมเราเรียกกันว่า “ปอเนาะ” เท่านั้น แต่ในเมื่อจะให้คนที่ยังไม่รู้จักปอเนาะ เราจึงเรียนมาเป็น “สถาบัน” เพื่อจะให้เป็นไปตามระเบียบการศึกษาให้ชัดเจนขึ้น
ประวัติความเป็นมาของปอเนาะ
คำว่า “ปอเนาะ” มาจากรากศัพท์เดิมจากภาษาอาหรับว่า “ฟุนดุก” ซึ่งหมายความว่า ที่พักชั่วคราวของผู้เดินทาง จากนั้น คำว่า “ปอเนาะ” ก็ถูกนำใช้ในสถานศึกษาในพื้นที่ 4-5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย
ในปีพุทธศักราช 1700 เป็นต้นมาพร้อมกระบวนการเผยแผ่ศาสนาอิสลามในประเทศไทยในช่วงเวลาระหว่างปี พ.ศ. 2043-พ.ศ. 2335 มีผู้คนเข้ารับอิสลามมากมายในภูมิภาคนี้ถูกขนานนามว่า เป็นระเบียนของเมกกะ
ต่อมาสถาบันศึกษาปอเนาะก็ได้รับการตอบจากสังคมในท้องถิ่นและมุสลิมในประเทศใกล้เคียง มีผู้เรียนมากมายศึกษาหาความรู้ในปอเนาะโดยมาจาก มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน เขมร เวียดนาม พม่า เป็นต้น
คำว่า ปอเนาะดาลำ
ปอเนาะดาลำ คือ ผู้เฒ่าคนแก่ หรือผู้ที่มีครอบครัวแล้วได้มาสร้างที่พักอาศัยอยู่กับครอบครัวของเขา หรือเราแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า เป็นปอเนาะใน ซึ่งอยู่ภายในรั้วของนักศึกษาหญิงซึ่งอยู่ติดกับบ้านโต๊ะครู
คำว่า “บาลัย”
บาลัย คือ สถานที่ละหมาดและในเวลาเดียวกัน ใช้สำหรับเป็นสถานที่สอนหนังสือด้วย
หลักสูตรของสถาบันปอเนาะ
ถึงแม้ว่าในปอเนาะไม่มีหลักสูตรเป็นลายลักษณ์อักษรก็ตามแต่หลักสูตรของสถาบันศึกษาปอเนาะเป็นหลักสูตรที่ได้จัดขึ้น โดยที่โต๊ะครูเป็นผู้วางแผนโดยมีรายวิชาหลักๆ ถึง 16 วิชา ดังต่อไปนี้
1.  อัลกุรอาน(พระคัมภีร์)
2.  ตัฟซีร  (การบรรยายอัลกุรอาน)
3.  ฮาดีษ(วัจนะ)
4.  หลักศรัทธา (เตาฮีด)
5.  ศาสนบัญญัติ (ฟิกฮฺ)
6.  จริยธรรม (อัลอัคลากหรือตะเศาวุฟ)า
7.  อักขรวิธี (นาฮู)
8.  จากยสัมพันธ์ (ซอรอฟ)
9.  หลักการอ่านอัลกุรอ่าน (ตัจวีด)
10. หลักการอรรถาธิบายอัลกุรอ่าน (อุศุลตัฟซีร)
11. หลักการวัจนะ (อุศูซูลฮาดีษ)
12. หลักการศาสนบัญญัติ (อุศูลุลฟิกฮฺ)
13.  การแบ่งมรดก (ฟารอเอด)
14.  ศาสนประวัติ (ตาริค)
15.  สำนวนโวหาร (อัลบาลาเฆาะฮฺ)
16.   ตรรกวิทยา (มันติก)
การประเมินผลการเรียนของนักเรียน
โต๊ะครูเป็นผู้ประเมินผลการเรียนของนักเรียนโดยมีการประเมินทุกวันหรือทุกๆ สัปดาห์หรือส่วนมากจะมีการท่องจำในการประเมินผลของนักเรียน
รายได้ของสถาบันศึกษาปอเนาะ
สถาบันศึกษาปอเนาะไม่มีรายได้ที่แน่นอน เพียงแต่ได้มาจากการบริจาคจากชุมชนและมีผู้ใจบุญที่ศรัทธาทั้งมวลจะเป็นผู้ที่ดูแลช่วยเหลือโต๊ะครูและครอบครัว ทั้งที่เป็นเงิน ข้าวสาร และ อาหารตลอดจนอำนวยความสะดวกอื่น ๆ
ได้รับอนุญาตสถาบันศึกษาปอเนาะ
ก่อนหน้านี้ปอเนาะยังไม่ได้รับการจดทะเบียน เนื่องจากทางรัฐบาลไม่ได้ให้ความสำคัญต่อปอเนาะ จึงไม่ได้ให้จดทะเบียนมาประมาณ 40 ปีกว่า ในเมื่อเกิดวิกฤติทางการเมืองรัฐบาลก็ได้วางแนวทางที่จะเข้าดูแลปอเนาะและมีความประสงค์ที่จะอุดหนุน จึงได้เปิดโอกาสให้โต๊ะครูมาจดทะเบียนปอเนาะ ซึ่งก็ได้รับการตอบสนองจากโต๊ะครูโดยได้รวมใจกันมาจดทะเบียนปอเนาะขึ้น และได้รับอนุญาตปอเนาะเป็นครั้งแรกในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ 2547 ณ. โรงเรียนสายบุรีอิสลามวิทยา อำเภอสายบุรีจังหวัดปัตตานีโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายอดิศัย  โพธารามิก)
สถาบันศึกษาปอเนาะได้รับอุดหนุนจากกระทรวงศึกษาธิการ  ครั้งที่ 1
ในวันที่ 29  ธันวาคม พ.ศ 2547  เป็นวันที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสน์สถาบันศึกษา โดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นาย อารีย์  วงศ์อารยะ) ได้มอบเงินอุดหนุนเป็นจำนวนทั้งสิ้น 55,811,700 บาท  ในจำนวน 214 แห่ง
และได้รับอุดหนุนจากกระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 2 เป็นจำนวน 87 แห่งอีก
ระบบการสอนของปอเนาะ  (แบบดั้งเดิม)
1.  การบริหารขึ้นอยู่กับโต๊ะครู เป็นผู้กำหนด ระเบียบ กฏเกณฑ์ ตามความเหมาะสม
2.  ใช้หลักการของศาสนาเป็นหลักสูตรในการเรียนการสอน
3.  แบบเรียนใช้คัมภีร์อัล-กุรอาน และฮาดีษ เป็นหลัก โดยมีกีตาบเป็นสื่อประกอบ
4.  ไม่มีระดับชั้นและไม่จำกัดระยะเวลาเรียนขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้เรียน
5.  วิธีวัดผลการเรียนขึ้นอยู่กับความเหมาสม และการวินิจฉัยของผู้สอนและผู้เรียนว่า
เพียงพอแล้วหรือยัง
6.  ไม่มีหลักฐานรับรองวุฒิใด ๆ เพราะเป้าหมายคือ นำไปใช้ปฏิบัติศาสนกิจเป็นสำคัญ
7.  ผู้เรียน เรียนได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิงไม่จำกัดอายุ แต่ต้องแยกทั้งที่เรียนและที่พักอยู่คน
ละส่วนของปอเนาะ
8.  ผู้เรียนจะต้องมาพักในปอเนาะจะกลับได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุญาต
9.  วันศุกร์ เป็นวันหยุดสุดสัปดาห์ และใน 1  ปีจะหยุดเรียนดั้งนี้
9.1  เดือนรอมฏอน        60  วัน
9.2  เดือนรอบีอุลอาวัล  30  วัน
9.3  เดือนซุลฮิจเยาะห์   10   วัน














2006-01-08_21-06-49

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น